สำนักงานอธิการบดี สถาบันราชภัฏพิบูลสงครามเดิมเป็นหน่วยงานธุรการ ในโรงเรียนประจำมณฑลพิษณุโลก
“พิษณุโลกพิทยาคม” เมื่อปี  พ.ศ.2464  ต่อมาในปี พ.ศ.2469 ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ว่า “โรงเรียนพิษณุโลกวิทยายน” เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2469 และเสด็จพร้อมสมเด็จพระบรมราชินีรำไพพรรณี  มาทรง
เปิดอาคารเรียนเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2470 เวลาประมาณ 15.30 น. ณ พระราชวังจันทน์ ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ขึ้น
ทางราชการจึงสั่งยุบโรงเรียนจนในปี พ.ศ.2476 ได้เปิดสอนหลักสูตรวิชาครูในโรงเรียนสตรีประจำมณฑลพิษณุโลก
(โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีในปัจจุบัน) และในปี พ.ศ.2486 แผนกฝึกหัดครูของโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ได้แยกออกมาจาก
โรงเรียนสตรีประจำมณฑลพิษณุโลก ตั้งเป็นโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพิษณุโลกโดยที่กิจการแยกกันแต่สถานที่ยังใช้รวมกันอยู่
ซึ่งทางโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนี้สังกัดกรมวิสามัญศึกษา

           ปี  พ.ศ.2497 กระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งกรมการฝึกหัดครูขึ้นจึงโอนโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพิษณุโลกไปสังกัดกรม
การฝึกหัดครูและปรับปรุงหลักสูตรเป็นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ( ป.กศ.)

           ปี  พ.ศ.2598  รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม สร้างโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีขึ้นใหม่ในที่ตรงข้ามแม่น้ำ (บริเวณ
สถาบันราชภัฏถนนวังจันทน์ปัจจุบัน) แต่โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีมิได้ย้ายมาอยู่ ณ ที่แห่งใหม่ ราชการจึงได้ยกโรงเรียนใหม่
ให้แก่ โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู

           ปี  พ.ศ.2499 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงคราม เปิดรับนักศึกษาแบบสหศึกษา
นักเรียนหญิงอยู่ประจำ นักเรียนชายเดินเรียน นับแต่นั้นมาโรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงครามก็เจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ได้ขยาย
เนื้อที่รวมที่ดินของโรงเรียนการช่างชายซึ่งอยู่ ติดกัน ทำให้มีเนื้อที่เท่าขนาดเนื้อที่ในปัจจุบัน คือ 40 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา
เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) และ ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) และเปลี่ยนจาก
โรงเรียนฝึกหัดครูเป็นวิทยาลัยครูในปีเดียวกัน ปี พ.ศ.2518 รัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูโดยมีสภาการ
ฝึกหัดครูทำหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมการบริหารงานในวิทยาลัยครูทั่วประเทศและเปลี่ยน ชื่อ ตำแหน่ง หัวหน้าสถาน
ศึกษาเป็นอธิการวิทยาลัยครู การบริหารงานของวิทยาลัยฯ จัดเป็นคณะวิชาและสำนักหรือศูนย์ที่เทียบเท่าคณะ วิชาและ
ได้ทำการเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต (ค.บ.)

            ปี  พ.ศ.2524 วิทยาลัยครูได้รับอนุมัติจากสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งทะเลแก้ว จำนวน
1,000 ไร่ เพื่อเตรียมขยายวิทยาลัยออกไป โดยมีโครงการใช้ที่ดินระยะแรก 400 ไร่

            ปี  พ.ศ.2527 ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.2518 ให้ขยายการเปิดสอนระดับปริญญาตรีจากสาย
ครุศาสตร์ เป็นสายวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ซึ่งสำนักงานอธิการบดีได้เปลี่ยนจากแผนกงานธุรการ เป็นสำนักงานอธิการ
โดยมีตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานอธิการเป็นผู้บังคับบัญชา

            ปี  พ.ศ.2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลปัจจุบันทรงพระราชทานนาม “สถาบัน
ราชภัฏ” แก่วิทยาลัยครู และพระราชทานตราพระราชลัญจกรในพระองค์ เพื่อเป็นตราสัญลักษณ์ของสถาบัน ปี พ.ศ.2538
รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538 แทนพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.2518 และ พ.ศ.2527
เพื่อให้สถาบันมีความเป็นอิสระและคล่องตัวทั้งในด้านการดำเนินการและการเปิดสอนในระดับการศึกษาที่สูงกว่าปริญญาตรี
ได้ สถาบันจึงขยายกิจการมาเป็นลำดับโดยสำนักงานอธิการได้รับการยกฐานะเป็นสำนักงานอธิการบดี และมี ผู้อำนวยการ
สำนักงานอธิการบดี เป็นผู้บังคับบัญชาจนถึงปัจจุบัน

   
     
   
  " ประสานภารกิจ เน้นบริการ บริหารจัดการเป็นเลิศ สู่การเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart University)"
   
   
   
  "เป็นหน่วยงานให้บริการที่มีคุณภาพและบริหารจัดการที่เป็นเลิศนำไปสู่การเป็น (Smart University)"
   
   
   
  1. สนับสนุนและส่งเสริมการบริหารจัดการ และการดำเนินงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย
  2. พัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้สอดคล้องกับทิศทางของมหาวิทยาลัย
  3. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมการบริการที่เป็นเลิศ
   
     
   
  มีจิตบริการ สร้างสรรค์ผลงาน นำเทคโนโลยีสู่การบริการที่เป็นเลิศ
   
   
   
  S : Service หมายถึง มีการให้บริการที่มีคุณภาพ
  T : Team หมายถึง มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม
  A : Active หมายถึง มีความกระตือรือร้นในการทำงาน
  F : Fast หมายถึง มีขั้นตอนการทำงานที่รวดเร็ว
  F : Family หมายถึง มีความเห็นอกเห็นใจกันแบบครอบครัว